วันเสาร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ความแตกต่างของกล้องจุลทรรน์แบบใช้แสงและแบบอิเล็กตรอน

ความแตกต่างของกล้องจุลทรรน์แบบใช้แสงและแบบอิเล็กตรอน
กล้องจุลทรรศน์แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
1. กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง ซึ่งมีอยู่ 2 แบบ คือ กล้องจุลทรรศน์ใช้แสงแบบธรรมดาและแบบสเตอริโอ
2. กล้องจุลทรรศน์แบบอิเล็กตรอน ซึ่งมีอยู่ 2 แบบ คือ กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องผ่านและแบบส่องกราด

1. กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง
เป็นกล้องที่ได้รับการพัฒนาจากในอดีตอย่างมาก และใช้แสงที่ดีที่สุดในปัจจุบัน ที่มีกำลังขยายถึง 2,000 เท่าเลยที่เดียวเชียวและเป็นกล้องที่ราคาถูกสามารถใช้ในงานที่ละเอียดพอประมาณ แบบได้เป็น 2 ประเภทดังนี้
(1) กล้องจุลทรรศน์ที่ใช้แสงแบบธรรมดา
ประกอบด้วยเลนส์ 2 ชนิดคือ เลนส์ใกล้วัตถุและเลนส์ใกล้ตา โดยใช้แสงผ่านวัตถุแล้วขึ้นมาที่เลนส์จนเห็นภาพที่บนวัตถุอย่างชัดเจน

(2) กล้องที่ใช้แสงแบบสเตอริโอ
เป็นกล้องที่ประกอบด้วยเลนส์ที่ทำให้เกิดภาพแบบ 3 มิติใช้ศึกษาวัตถุที่มีขนาดใหญ่แต่ตาเปล่าไม่สามารถแยกรายละเอียดได้จึงต้องใช้กล้องชนิดนี้ช่วยขยาย กล้องชนิดนี้มีข้อแตกต่างจากกล้องทั่วๆไป คือ

1. ภาพที่เห็นเป็นภาพเสมือนมีความชัดลึกและเป็นภาพสามมิติ
2. เลนส์ใกล้วัตถุมีกำลังขยายต่ำ คือ น้อยกว่า 1 เท่า
3. ใช้ศึกษาได้ทั้งวัตถุโปร่งแสงและวัตถุทึบแสง
4. ระยะห่างจากเลนส์ใกล้วัตถุกับวัตถุที่ศึกษาอยู่ในช่วง 63-225 มิลลิเมตร

2. กล้องจุลทรรศน์แบบอิเล็กตรอน

เป็นกล้องที่ใช้อิเล็กตรอนความถี่สูงให้การทำงานแทนแสง สามารถขยายได้ถึง 500,000 เท่า จนเห็นโมเลกุลที่อยู่ในโครงสร้างต่างๆได้เลย แต่ด้วยความสามารถขยายที่สูงราคาจึงสูงตาม

(1) กล้องอิเล็กตรอนแบบส่องผ่าน (Transmission electron microscope) เรียกย่อว่า TEM
เอิร์น รุสกา สร้าวได้เป็นคนแรก เมื่อปี พ.ศ. 2475 ใช้ในการศึกษาโครงสร้างภายในเซลล์โดยลำแสงอิเล็กตรอนจะส่องผ่านเซลล์หรือตัวอย่างที่ศึกษา ซึ่งต้องมีการเตรียมแบบพิเศษและบางเป็นพิเศษด้วย

(2) zกล้องอิเล็กตรอนแบบส่งกราด (Scanning electron microscope) เรียกย่อว่า SEM
เอ็ม วอน เอนเดนนี สร้างสำเร็จเมื่อปี พ.ศ. 2481 โดยใช้ศึกษาผิวของเซลล์หรือผิวของวัตถุที่นำมาศึกษา โดนลำแสงอิเล็กตรอนจะส่องกราดไปบนผิววัตถุ ทำให้ได้ภาพซึ่งมีลักษณะเป็นภาพ 3มิติ

หลักการทำงานของกล้อจุลทรรศน์แบบอิเล็กตรอน
การที่ใช้เลนส์เหมือนกับกล้องที่ใช้แสงแต่จะเกิดสนามแม่เหล็กไฟฟ้าทำให้มีกำลังขยายสูง และยังสามารถส่องวัตถุได้ถึง 0.5 นาโนเมตร ทำให้ปรากฏภาพเสมือนจริง บนจอฉาบเรืองแสง

ตารางเปรียบเทียบกล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง กับ กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน

ลักษณะที่เปรียบเทียบ

กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง

กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน

1. แหล่งกำเนิดแสง

กระจกหรือหลอดไฟ

ปืนยิงอิเล็กตรอน

2. แสงที่ใช้

แสงสว่างในช่วงที่ตามองเห็นได้ (ม่วง-แดง) ความยาวคลื่น 4,000-7,000 อังสตรอม

ลำแสงอิเล็กตรอนความยาวคลื่นประมาณ 0.05 อังสตรอม

3. ชนิดของเลนส์

เลนส์แก้ว

เลนส์แม่เหล็กไฟฟ้า

4. กำลังขยาย

1,000-1,500 เท่า

200,000-500,000 เท่า หรือมากกว่า

5. ขนาดของวัตุที่เล็กที่สุดที่มองเห็น

0.2 ไมโครเมตร

0.0004 ไมโครเมตร

6. อากาศในตัวกล้อง

มีอากาศ

สุญญากาศ

7. ภาพที่ได้

ภาพเสมือนหัวกลับดูได้จากเลนส์ตา

ภาพปรากฎบนจอรับภาพเรืองแสง

8. ระบบหล่อเย็น

ไม่มี

มีเนื่องจากเกิดความร้อนมาก

9. วัตถุที่ส่องดู

มีหรือไม่มีชีวิต

ไม่มีชีวิตเท่านั้น

10 ความคิดเห็น:

  1. ขอบคุณมากครับ ต้องการอยู่พอดีเลยครับ

    ตอบลบ
  2. ไม่มีอะไรที่เหมือนกันเลยหรอครับ

    ตอบลบ
  3. ไม่มีอะไรที่เหมือนกันเลยหรอครับ

    ตอบลบ
  4. ❇❇❇❇❇❇❇❇✳✳✳✳✳✳✳♥♥♥♥

    ตอบลบ
  5. ❇❇❇❇❇❇❇❇✳✳✳✳✳✳✳♥♥♥♥ดีดีีีีีีีีดดด

    ตอบลบ
  6. แตกหนึ่ง
    ขอบคุณคับ


    ตอบลบ